ในยุคสมัยก่อนที่เทคโนโลยียังไม่มีเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์เรานั้น แต่กลับมีสิ่งก่อสร้างที่น่าอัศจรรย์เกิดขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์มากมาย ซึ่งแต่ละอย่างก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้แรงคนและความอดทนในการก่อสร้างนานนับหลายสิบปีกว่าจะเสร็จได้ ไม่ต้องใช้วิศวกรรมศาสตร์ ไม่ต้องใช้หลักฟิสิกส์ใดๆ ไม่รู้ว่าคนยุคก่อนเขาทำวิธีไหนถึงมีสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์ออกมาได้กัน

และเรื่องราวนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น มันคือสิ่งก่อสร้างที่ถูกเรียกว่า “ชลาคาร” เป็นวิหารกักเก็บน้ำอายุกว่า 1,000 ปีของอินเดีย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะเห็นการก่อสร้างตึกหรือวิหารต่างๆ ที่จะต้องเริ่มสร้างจากพื้นดินขึ้นไปให้สูงเสียดฟ้าเท่าที่จะทำได้ แต่”ชลาคาร” แห่งนี้กลับใช้การขุดและคว้านดินลงไป เพื่อจะก่อสร้างวิหารน้อยใหญ่ให้อยู่ในหลุมดังกล่าว

“ชลาคาร” หรือวิหารกักเก็บน้ำแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้าน Abhaneri ของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย มีอายุมากกว่า 1,000 ปี และลึก 100 ฟุต มี 13 ชั้น และขั้นบันไดบางๆ 3,500 ขั้น ยิ่งเดินลงไปลึกถึงด้านล่างท่านก็จะได้เห็นความสวยงามของการก่อสร้างวิหารหินขนาดต่างๆมากมาย

ซึ่งแต่ก่อนเขาก็ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถที่จะลงไปเยี่ยมชมจนถึงด้านล่างได้ แต่ปัจจุบันนี้เขาได้ปิดไม่ให้ลงไปแล้วเนื่องจากเคยมีคนตกบันได และโรงพยายามก็อยู่ไกลจากสถานที่แห่งนี้มากเลย เพียงแค่มองจากด้านบนก็รู้สึกได้ถึงความลึกและความน่ากลัวแล้ว โดยหน้าที่หลักของวิหารแห่งนี้ก็คือกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะให้คนในพื้นที่หมู่บ้านโดยรอบได้มีน้ำกินน้ำใช้กันตลอดทั้งปีนั่นเอง

ที่มา Sitthimon Kal , พี่’ลวย ใจดี